สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ
สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ
ตั้งอยู่ที่ ถนนเทอดดำริ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เป็นชุมทางหลักของประเทศไทย ซึ่งแยกทางรถไฟสายใต้
ออกจากทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งอาคารผู้โดยสารออกเป็นสองส่วน
คืออาคารผู้โดยสาร (สายเหนือ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ) (หรือ ชุมทางบางซื่อ และอาคารผู้โดยสาร
(สายใต้)
(หรือ ชุมทางบางซื่อ 2) ซึ่งห่างกันราว
200
เมตร
แผนผังสถานี
ย่านสับเปลี่ยน,
โรงรถจักร,
โครงการสถานีกลางบางซื่อ
ชานชาลารถไฟทางไกล
สายเหนือ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ ชานชาลา 2 รถไฟเที่ยวล่อง
มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ
ชานชาลาเกาะกลาง,
รถไฟเที่ยวล่อง
ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
รถไฟเที่ยวขึ้น ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก
สถานีรถไฟกรุงเทพ
ชานชาลารถไฟทางไกล
สายใต้ ชานชาลา
2 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก
สถานีรถไฟกรุงเทพ
ชานชาลาเกาะกลาง,
รถไฟเที่ยวล่อง
ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
รถไฟเที่ยวขึ้น ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 รถไฟเที่ยวล่อง
มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ
พื้นที่ขายบัตรโดยสาร พื้นที่ขายบัตรโดยสาร ทางออก, ห้องขายบัตรโดยสาร,ร้านค้า
ระดับถนน - ป้ายรถประจำทาง,
สถานีบางซื่อ
ทางออก 1-2
ที่ทำการรับ-ส่งสินค้าพหลโยธิน
ที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน หรือ
ย่านพหลโยธิน เป็นย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนรางมากกว่า 50
ราง เป็นย่านสับเปลี่ยนขนาดใหญ่ รวมความยาว (ตามแนวเส้นทาง) ถึง 4
กม. เป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้าหลักของประเทศไทย
อยู่ห่างจากตัวอาคารสถานีรถไฟไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 1.5
กิโลเมตร
โรงรถจักรดีเซลบางซื่อ
โรงรถจักรดีเซลบางซื่อ
เป็นโรงซ่อมบำรุงและโรงจอดรถจักรดีเซลที่ใช้ในการลากขบวนรถไฟ
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟไปตามแนวเส้นทางในระยะประมาณ 1.5
กิโลเมตร นอกจากที่บางซื่อแล้ว ยังมีโรงรถจักรที่ สถานีรถไฟธนบุรี
สถานีรถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟนครลำปาง สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และ สถานีรถไฟชุมพร
ชุมทางบางซื่อในอนาคต:โครงการสถานีกลางบางซื่อ
ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
จะทำการย้ายสถานีต้นทางหลักของกรุงเทพ จากสถานีหัวลำโพง มาที่ ชุมทางบางซื่อ
เป็นสถานีหลักแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร พร้อมจัดเส้นทางใหม่ จากบางซื่อไปนครปฐม
เป็นสายตะวันตก จากบางซื่อ ไปหัวลำโพง วงเวียนใหญ่ มหาชัย จนถึงปากท่อ
ตลอดจนทุกสถานีหลังจากนี้ นับเป็นสายใต้ (เส้นทางใหม่) จากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชี
ยังเป็นสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดิม จากบางซื่อไปสุวรรณภูมิ
ฉะเชิงเทรา เป็นสายตะวันออกตามเดิม และแยกเพิ่มอีก 2 เส้นทางคือ
รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพ-ระยอง
และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SARL : Suvarnabhumi
Airport Rails Link)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น